วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่ใช้ในวงการศึกษานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบ
หลักที่พบเห็นเสมอ ๆ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1 DRILL AND PRACTICE
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนในลักษณะนี้จะเป็นแบบที่พบเห็นมากที่สุดเป็นการช่วย
ให้ผู้เรียนได้ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว เพื่อช่วยในการจำเนื้อหาหรือเป็นการฝึกทักษะ
ในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน วัตถุประสงค์หลักของ DRILL AND PRACTICE ก็เพื่อ
เสริมแรงในสิ่งที่ได้เรียนแล้ว โดยคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้าซึ่งอาจจะเป็นในรูปของ
คำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนองหรือตอบคำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง
หรือตอบคำถาม และสามารถให้การเสริมแรง หรือให้ FEEDBACK แก่ผู้เรียนได้ทันที
2 TUTORIALS
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนสิ่งใหม่ซึ่งผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน
บทเรียนในลักษณะนี้จะเสนอเนื้อหาวิชา ถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เพิ่งเสนอไป
และจากคำตอบของผู้เรียนคอมพิวเตอร์ก็จะ ตัดสินใจว่าผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาต่อไป
หรือควรจะได้มีการทบทวนเนื้อหาที่เพิ่งเรียนนั้น หรือมีการซ่อมเสริมอย่างไร
ลักษณะ TUTORIAL ที่ดีควรจะเป็นดังนี้
- เนื้อหาหรือมโนทัศน์ที่เสนอควรจะจัดอย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อไม่ให้ผู้เรียน
เกิดความสับสน
- กราฟิกและเสียงประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
- ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะความเร็วในการเสนอเนื้อหา
- ควรจะมีวิธีในการที่จะบันทึกคะแนนของผู้เรียนไว้เพื่อผู้สอนจะ
ได้สามารถนำมาตรวจสอบความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนทั้งชั้นได้
3 INSTRUCTIONAL GAMES
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนเนื้อหาวิชาในรูปแบบของเกมส์
โดยทั่วไปลักษณะของเกมส์จะมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเป็นการแข่งขัน เมื่อจบเกมส์แล้วก็
จะมีผู้ชนะและผู้แพ้ เกมส์การสอนมักจะออกแบบเพื่อให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้เรียน
เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถเสนอภาพกราฟิกที่มีสีสวยงามและมีเสียงประกอบได้
จึงทำให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
4 SIMULATIONS
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของ simulations เป็นการจำลองสถานการณ์จริงโดย
คอมพิวเตอร์จะเสนอสถามการณ์ให้แก่ผู้เรียน ให้โอกาสผู้เรียนได้วิเคราะห์ และตัดสิน
ใจจากข้อมูลที่จัดให้เพื่อที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจาก การจำลองสถานะการณ
มีลักษณะที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องอาคัยการคาดคะเนใน
เรื่องการตอบสนองในรูปแบบต่างๆ จากผู้ใช้บทเรียนและผลที่จะเกิดจากการตอบสนอง
เพื่อนำมาพิจารณาในการสร้างรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลามากในการสร้าง และผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องมีทักษะระดับสูงในเรื่องการเขียนโปรแกรม
เพื่อสร้างบทเรียนในลักษณะนี้ SIMULATION แต่ PROBLEM SOLVING
จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการในด้านการใช้เหตุผล
5 PROBLEM SOLVING
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้ เป็นการเสนอปัญหาให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะต้อง
พยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหานั้น ๆ ลักษณะบทเรียนแบบนี้จะคล้าย ๆ กับ SIMULATIONS
แต่ PROBLEM SOLVING จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการ
ในด้านการใช้เหตุผล
ที่มา
: http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1

ไม่มีความคิดเห็น: